ปรากฏการณ์...ในระบบสุริยะ

จันทรุปราคา สุริยุปราคา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 4 )พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง
ที่ตำบลหว้ากอเมื่อวันที่ 18  เดือนสิงหาคม  พ.ศ. 2411ได้อย่างแม่นยำ

 

จันทรุปราคา

จันทรุปราคาหรือเรียกว่า " จันทรคราส "  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์
และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน  โดยมีโลกอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์  ทำให้โลกบังแสงจากดวงอาทิตย์ไว้ ไม่สามารถส่องไปถึงดวงจันทร์ได้ เกิดเป็นเงามืดบนดวงจันทร์ขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

จันทรุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในเวลากลางคืนในวันขึ้น  15  ค่ำ หรือ แรม  1  ค่ำ  ถ้าดวงจันทร์เข้ามาอยู่ในเงามืดทั้งดวงเรียกว่า "จันทรุปราคาเต็มดวง" ถ้าดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดเพียงบางส่วนเรียกว่า "จันทรุปราคาบางส่วน" 
          และถ้าดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามัวเท่านั้นเรียกว่า"จันทรุปราคาแบบเงามัว"
 ซึ่งสังเกตยากเพราะดวงจันทร์ในส่วนที่ถูกบดบังแสงไม่มืดสนิท ในทุก ๆ ปี จะมีจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างน้อยสองครั้ง



 

สุริยุปราคา

สุริยุปราคาหรือเรียกว่า  "สุริยคราส " เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อโลก  ดวงจันทร์  และดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน  โดยมีดวงจันทร์อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก  เงาของดวงจันทร์จะทอดยาวมายังโลก  ทำให้คนบนโลก(บริเวณที่มีเงาของดวงจันทร์)  มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง  หรือบางแห่งเห็นดวงอาทิตย์มืดหมดทั้งดวง  ช่วงเวลาที่เกิดสุริยุปราคาจะกินเวลาไม่นานนัก  เช่น  เมื่อวันที่  24  เดือนตุลาคม  พ.ศ.  2538  ประเทศไทยสามารถมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้นาน  3  ชั่วโมง  นับตั้งแต่ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนเข้าจนเคลื่อนออก   

สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในเวลากลางวันและตรงกับวันแรม 15 ค่ำ หรือวันขึ้น 1 ค่ำ เท่านั้น  ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ในเขตใต้เงามืดของดวงจันทร์จะมองเห็นดวงอาทิตย์มืดมิดทั้งดวงเรียกว่า "สุริยุปราคาเต็มดวง" ท้องฟ้าจะมืดไปชั่วขณะ  ในขณะที่ตำแหน่งบนพื้นโลกที่อยู่ภายใต้เขตเงามัวจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังไปบางส่วนเรียกว่า"สุริยุปราคาบางส่วน"   สำหรับการเกิดสุริยุปราคาในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าปกติ ทำให้เงามืดของดวงจันท์ทอดตัวไปไม่ถึงพื้นโลก  แต่ถ้าต่อขอบของเงามืดออกไปจนสัมผัสกับพื้นผิวโลกจะเกิดเป็นเขตเงามัวขึ้น  ตำแหน่งที่อยู่ภายใต้เขตเงามัวนี้จะมองเห็นสุริยุปราคาวงแหวนดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก  แต่ที่เรามองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้มิด  ก็เพราะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์


 

คำนำ แบบทดสอบก่อนเรียน ระบบสุริยะ(1) ระบบสุริยะ(2)
กลางวันกลางคืนและทิศ ข้างขึ้น ข้างแรม ฤดูกาล น้ำขึ้นน้ำลง
แบบทดสอบหลังเรียน   แหล่งข้อมูลอ้างอิง ผู้จัดทำ